ภาพการปฏิบัติกิจกรรมจิตสาธารณะ : กวาดวัด
สถานที่ : วัดปทุมวนาราม
วันเวลา : 19 มิถุนายน 2556 เวลาประมาณ 17.00น.
จิตสาธารณะ (Public mind) หมายถึง จิตสำนึกเพื่อส่วนรวม เพราะคำว่า “สาธารณะ” คือ สิ่งที่มิได้เป็นของผู้หนึ่งผู้ใด จิตสาธารณะจึงเป็นความรู้สึกถึงการเป็นเจ้าของในสิ่งที่เป็นสาธารณะ ในสิทธิและหน้าที่ที่จะดูแล และบำรุงรักษาร่วมกัน เช่น การช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยการไม่ทิ้งขยะลงในแหล่งน้ำ การดูแลรักษาสาธารณะสมบัติ เช่นโทรศัพท์สาธารณะ หลอดไฟที่ให้แสงสว่างตามถนนหนทาง แม้แต่การประหยัดน้ำประปา หรือไฟฟ้าที่เป็นของส่วนรวม โดยให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าตลอดจนช่วยดูแลรักษาให้ความช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก หรือผู้ที่ร้องขอความช่วยเหลือเท่าที่จะทำได้ ตลอดจนร่วมมือกระทำเพื่อช่วยกันแก้ปัญหา แต่ต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย เพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวม นอกจากนี้ จิตสาธารณะยังมีความหมายครอบคลุมดังต่อไปนี้
2. จิตสาธารณะ คือจิตอาสา ที่แสดงออกมาในรูปของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นด้วยความสมัครใจเพื่อส่วนรวม โดยการแสดงออกด้วยการอาสาไม่มีใครบังคับ
3. จิตสาธารณะ คือ การสำนึกสาธารณะ ซึ่งหมายถึงการที่บุคคลตระหนักรู้และคำนึงถึงประโยชน์สุขของส่วนรวมและสังคม เห็นคุณค่าของการเอาใจใส่ดูแลรักษาสิ่งต่างๆที่เป็นของส่วนรวม
4. จิตสาธารณะคือ จิตบริการที่เกี่ยวกับการคิดและการปฏิบัติในการให้ความช่วยเหลือผู้อื่น เป็นการประพฤติปฏิบัติที่มุ่งความสุขของผู้อื่นที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความตั้งใจดีและเจตนาดี
5. จิตสาธารณะคือจิตสำนึกทางสังคมที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้อธิบายว่าเป็นการรู้จักเอาใจใส่เป็นธุระและเข้าร่วมในเรื่องของส่วนรวมที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ มีความสำนึกและยึดมั่นในระบบคุณธรรม และจริยธรรมที่ดีงาม ละอายต่อสิ่งผิดเน้นความเรียบร้อย ประหยัด และมีความสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ
ฐานคิดของจิตสาธารณะที่ลึกซึ้งอีกระดับหนึ่งคือ ความรับผิดชอบต่อสังคม ในการช่วยเหลือสังคม ไม่ทำให้ผู้อื่นหรือสังคมเดือดร้อนได้รับความ เสียหาย และมีระดับของความรับผิดชอบเริ่มตั้งแต่ ประการแรก ความรับผิดชอบต่อครอบครัว อาทิ เชื่อฟังพ่อแม่ ช่วยเหลืองานบ้าน ไม่ทำให้พ่อแม่เสียใจ ประการที่สอง มีความรับผิดชอบต่อโรงเรียน ครูอาจารย์ เช่น ตั้งใจเล่าเรียน เชื่อฟังคำสั่งสอนของครูอาจารย์ ปฏิบัติตามกฎระเบียบวินัยของโรงเรียน ช่วยรักษาทรัพย์สมบัติของโรงเรียน ประการที่สาม มีความรับ
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม ให้ความสำคัญยิ่งกับการพัฒนานักศึกษาตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 ถึงชั้นปีที่ 4 โดยในหลักสูตรประกอบด้วยการเรียนภาคทฤษฎี และการฝึกภาคปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้นักศึกษามีความเข้มแข็งทางด้านวิชาการ พร้อมการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม โดยเฉพาะนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ที่ต้องเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาจบเป็นบัณฑิตอย่างมีคุณภาพ สอดคล้องกับคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ในวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ ผู้เขียนจึงได้จัดทำโครงการที่มีรูปแบบเน้นการส่งเสริมเรื่องคุณธรรม จริยธรรม การสร้างจิตสาธารณะผ่านกระบวนการการบำเพ็ญประโยชน์ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทย การสร้างความรู้รักสามัคคี ความรักความผูกพันต่อคณะ และสถาบันอันเป็นคุณสมบัติที่แสดงถึงความกตัญญูของนักศึกษา นำไปสู่การพัฒนาตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ดังแสดงภาพกิจกรรมต่อไปนี้
ดังนั้น ผู้เขียนจึงเห็นว่าจิตสาธารณะเป็นเครื่องมือหนึ่งในการสร้างนักสวัสดิการที่ต้องมีมิติการปลูกฝังจิตสำนึก เนื่องจากเป็นสิ่งที่มีความหมายในเชิงคุณค่าทางสังคม เป็นการสร้างค่านิยม และเป็นฐานคิดที่สำคัญของนักสวัสดิการสังคมรุ่นใหม่ ทั้งนี้การสร้างโอกาสให้มีโครงการต่างๆทั้งในรูปแบบจิตสาธารณะ จิตอาสา ฯลฯ มาใช้ผ่านกระบวนการเรียนการสอน การทำกิจกรรมต่างๆของนักศึกษา ผู้เขียนเห็นว่าเป็นการปรับเปลี่ยนทัศนะคติ ค่านิยม ที่มิใช่การเปลี่ยนแปลง “ไปสู่ความจริง” เท่านั้น หากแต่เป็นการเปลี่ยน“โลกทัศน์” หรือ “วิธีการมองโลก” โดยที่การสร้างจิตสาธารณะดังกล่าวเป็นประสบการณ์อันมีคุณค่าที่บ่มเพาะปลูกฝังค่านิยม ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของสังคมไทยที่เป็นสังคมแห่งความเมตตา และเอื้ออาทร จึงเป็นส่วนสนับสนุนให้มีเข้มแข็งต่อการให้บริการสวัสดิการสังคมอย่างยั่งยืนในสังคมไทย และเป็นการเสริมพลังให้นักสวัสดิการสังคมรุ่นใหม่คงอยู่ได้ในความเป็นพลวัตรของสังคม
บรรณานุกรม
Jurgen , Habermas.1991. On the Logic of the Social Sciences. translated by Shierry Weber Nicholsen and Jerry A. Stark, the fourth printing, Massachusetts Institute of Technology. Originally appeared in Germany in 1967.
ข้อมูลจาก Internet